ซูบารุ จับมือ สถาบันยานยนต์ สนับสนุนการศึกษาและอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

ซูบารุ จับมือ สถาบันยานยนต์ สนับสนุนการศึกษาและการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ บริจาคเครื่องยนต์บอกเซอร์ (BOXER ENGINE) มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท ให้กับสถาบันอุดมศึกษา 9 แห่ง

 

ดร.ตัน ฮง ไหว่ ประธาน บริษัท ตัน จง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (TCSA) และบริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด และคุณสุรีทิพย์ ละอองทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด ได้บริจาคเครื่องยนต์ซูบารุ บอกเซอร์ (BOXER ENGINE) จำนวน 21 เครื่อง มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท โดย ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์เป็นผู้รับมอบ พร้อมสถานการศึกษา 9 แห่ง ณ ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ATTRIC อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

การสนับสนุนการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัท ตัน จง ซูบารุ ในการเพิ่มศักยภาพให้กับวิศวกรและช่างเทคนิคยานยนต์รุ่นต่อไป โดยบริษัทฯ มอบเครื่องยนต์บอกเซอร์ (BOXER ENGINE) เครื่องยนต์ชั้นนำของอุตสาหกรรมในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษาด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ

 

ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า สถาบันยานยนต์รู้สึกยินดีแทน 9 สถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก สำหรับการให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์ผ่านเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของซูบารุ ซึ่งสำหรับสถาบันยานยนต์นั้น ก็จะนำเครื่องยนต์ที่ได้รับมาใช้สำหรับการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงวิศวกรรมต่อไป เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต

 

สำหรับศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,235 ไร่ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกสำหรับศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,235 ไร่ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารและสนามทดสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ได้แก่ สนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 สนามทดสอบระบบเบรก (Brake Performance Track) สนามทดสอบระบบเบรกมือ (Park Brake Track) สนามทดสอบพลวัต (Dynamic Platform Track) สนามทดสอบการยึดเกาะขณะเข้าโค้ง (Skid Pad Track) โดยคาดว่าเสร็จสมบูรณ์ในปี 2569 พร้อมทั้งภายในพื้นที่เดียวกันมีการเปิดให้บริการศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ที่มีความพร้อมในการให้บริการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับแบตเตอรี่ขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า ตามมาตรฐาน UNECE R100 สำหรับยานยนต์ และ UNECE R136 สำหรับรถจักรยานยนต์ ทั้งหมดนี้ส่งให้ศูนย์ทดสอบแห่งนี้กลายเป็นฮับการทดสอบมาตรฐานอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียนและอันดับที่ 11 ของโลก

 

รายชื่อผู้รับเครื่องยนต์ซูบารุบอกเซอร์ จำนวน (เครื่อง)

1.สถาบันยานยนต์ จำนวน 3 เครื่อง

2.วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จำนวน 2

 เครื่อง

3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำนวน 2 เครื่อง

4.สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน 2 เครื่อง

5.ศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จำนวน 2 เครื่อง

6.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 2 เครื่อง

7.วิทยาลัยเทคนิคพนมสารคาม จำนวน 2 เครื่อง

8.วิทยาลัยเทคนิคนครนายก จำนวน 2 เครื่อง

9.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 2 เครื่อง

10.มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 2 เครื่อง

 

เครื่องยนต์บอกเซอร์ (BOXER ENGINE)

การออกแบบเครื่องยนต์บอกเซอร์ที่อยู่ในรถยนต์ปอร์เช่และซูบารุ มอบประสิทธิภาพในการรักษาสมดุลในการส่งกำลังที่นุ่มนวล โครงสร้างเชิงวิศวกรรมลูกสูบนอนที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำและการกระจายน้ำหนักที่เหมาะสมซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมอบความปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วยโครงสร้างเครื่องยนต์บอกเซอร์ที่มีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำกว่า ส่งผลให้รถทั้งคันมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าโค้ง

 

เพราะความปลอดภัยเป็นหัวใจในการออกแบบ เครื่องยนต์บอกเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำจะถูกผลักให้ตกลงไปใต้ห้องโดยสารในกรณีที่เกิดการชนอย่างรุนแรง นอกจากนี้ซูบารุยังได้พัฒนาเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์มาอยู่ในจุดที่ดีที่สุดและส่งผลให้มีอัตราสิ้นเปลืองดีกว่าเครื่องยนต์ทั่วไปบางรุ่น

 

เครื่องยนต์ที่บริจาคให้แก่สถานศึกษาเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนได้ศึกษาโครงสร้างของเครื่องยนต์บอกเซอร์และคุณประโยชน์เฉพาะตัวได้โดยตรง ด้วยการศึกษาโครงสร้างลูกสูบนอนจากเครื่องยนต์จริงจะทำให้อนาคตวิศวกรของไทยได้รับข้อมูลเชิงลึกในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับขีดความสามารถและสมรรถนะของเครื่องยนต์บอกเซอร์

 

นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ซูบารุได้ปรับปรุงเครื่องยนต์บอกเซอร์ของเรามาตั้งแต่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2509 และด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี ทำให้เครื่องยนต์บอกเซอร์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในเชิงวิศวกรรม การออกแบบ กลไกการทำงาน และความสามารถที่ส่งผลต่อการขับขี่และการควบคุม”

 

ซึ่ง ซูบารุ และสถาบันยานยนต์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เยาวชนควรจะได้เรียนรู้และสัมผัสการทำงานของเครื่องยนต์บอกเซอร์ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจากเครื่องยนต์จริง เพื่อต่อยอดเพิ่มทักษะให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้ไปปรับใช้กับการทำงานและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยต่อไป” นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นประโยนช์สูงสุดต่อหลักสูตรการสอน ซูบารุได้จัดอบรมเครื่องยนต์บอกเซอร์ แก่ตัวแทนจากสถานศึกษาที่มาร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 20 ท่าน

 

ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างบริษัท Tan Chong International Limited ประเทศสิงคโปร์ และ Subaru Corporation ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2019 Tan Chong Subaru Automotive Thailand (TCSAT) ได้สร้างการจ้างงานและการถ่ายทอดทักษะด้านเทคนิคและทักษะด้านเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับพนักงานและนักศึกษาฝึกงาน

 

TCSAT ครอบคลุมพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตรที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ ได้รับการออกแบบมาเพื่อผลิตรถยนต์ซูบาสำหรับประเทศไทย มาเลเซีย, เวียดนาม และกัมพูชา สามารถประกอบรถยนต์ได้ 4 รุ่นและสูงสุดถึง 100,000 คันต่อปี เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดเช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น TCSAT ได้รับการตรวจสอบโดย Subaru Corporation ด้วยขั้นตอนการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดทำให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกคันที่ผลิตใน TCSAT มีความปลอดภัย สะดวกสบาย และเชื่อถือได้

 

ดร.ตัน ฮง ไหว่ ประธาน บริษัท ตัน จง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นอกเหนือจากการสร้างรถยนต์ซูบารุที่มาพร้อมเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ดีที่เยี่ยมแล้ว เรายังมุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการฝึกอบรมผู้ฝึกงานจากสาขาวิชาวิศวกรรมต่างๆ เช่น เครื่องกล ยานยนต์ ไฟฟ้า และอื่นๆ และจากนักศึกษาฝึกงานเหล่านี้ ในอนาคตเราหวังว่าจะได้ร่วมงานกับผู้สำเร็จการศึกษา จากสถานบันอันทรงเกียรตินี้ เพื่อร่วมสร้างรถยนต์ซูบารุที่ล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาอุตสาหกรรม และทักษะของแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของไทย ผ่านการถ่ายทอดวิชาความรู้และการฝึกอบรมทางเทคโนโลยี ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในก้าวแรกสู่อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่รุ่งเรือง”

Visitors: 5,034,905